ข่าวบอล แลมพาร์ด-สโคลส์-เจอร์ราร์ด : 3 เสือแดนกลางอังกฤษยุค 2000s แต่ทำไมอยู่ด้วยกันไม่ได้ ?

 

ข่าวบอล พอล สโคลส์, สตีเว่น เจอร์ราร์ด และ แฟรงค์ แลมพาร์ด ต่างก็เลิกเล่นฟุตบอลมานานหลายปีแล้ว ทว่าปัญหาโลกแตกที่พวกเขาทิ้งไว้ยังไม่เคยมีใครหาคำตอบที่แท้จริงได้สักที …

ข่าวบอล คำถามที่ว่าคือ ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเก่งเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกในยามที่เล่นให้กับสโมสร แต่เมื่อมาเล่นให้กับทีมชาติ กลับกลายเป็นการไม่สามารถผสมเป็นเนื้อเดียวกันได้

ทางออกคืออะไร ใครควรนั่ง ใครควรลงสนาม ใครควรได้เป็นนัมเบอร์วัน … นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้ความล้มเหลวของทีมชาติอังกฤษในยุค 2000s ติดตามได้ที่นี่

 

มองอังกฤษย้อนอดีต

หลังจากฟุตบอลโลกปี 1966 ที่ทีมชาติอังกฤษไปถึงตำแหน่งแชมป์ได้ ทีมชาติอังกฤษก็ไม่เคยเข้าใกล้การเดินซ้ำรอยเท้าที่รุ่นพี่ทำไว้ได้อีกเลย …

มีเรื่องแปลกแต่จริงอยู่หนึ่งเรื่อง หากใครที่ติดตามทีมชาติอังกฤษมาพักใหญ่ในระยะหลัง เราจะได้เห็นสื่ออังกฤษมั่นใจว่าทีมชาติของพวกเขาจะได้แชมป์ และมักจะมีบทความหรือคอนเทนท์ที่แสดงถึงความเก่งกาจของนักเตะทัพทรีไลออนส์ ซึ่งที่สุดแล้วทุกคนรู้กันดี อังกฤษ ไปได้ไม่ไกลเสมอ นอกเสียจากทีมของ แกเรธ เซาธ์เกต ในฟุตบอลโลก 2018 เท่านั้นที่หลุดไปถึงรอบ 4 ทีมสุดท้าย ทว่าก็แพ้ให้กับม้ามืดอย่าง โครเอเชีย ต่อด้วย เบลเยียม อยู่ดี

ที่บอกว่าแปลกคือ สื่ออังกฤษไม่ได้ “อวยตัวเอง” ในช่วงปี 1966 ที่พวกเขาเป็นแชมป์ ก่อนฟุตบอลโลกครั้งนั้นจะเริ่มขึ้น สื่ออังกฤษมักจะโจมตีทีมชุดนั้นว่าเป็นทีมที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะด้วยเรื่องการเลือกนักเตะขัดใจ หรือแม้กระทั่งการตีแผ่ปัญหาภายในทีมระหว่าง บ็อบบี้ มัวร์ กองหลังทีมชุดดังกล่าว กับกุนซือ อัลฟ์ แรมซี่ย์ ในเวลานั้น ซึ่งความจริงแล้วทั้งสองคนมีความสัมพันธ์เหมือนกับ พ่อ-ลูก เลยด้วยซ้ำไป

อัลฟ์ แรมซี่ย์ เข้ามาคุมทีมหลังฟุตบอลโลก 1962 ที่อังกฤษแพ้ บราซิล ตกรอบก่อนรองชนะเลิศ เขาเข้ามารับช่วงต่อจาก วอลเตอร์ วินเทอร์บ็อตท่อม กุนซือคนเก่า และ อัลฟ์ ต้องการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง โดยกฎข้อใหญ่คือ เมื่อเขาได้รับตำแหน่งกุนซือ คำสั่งของเขาถือเป็นที่สิ้นสุด ห้ามมีการเถียงหรือคัดค้านใด ๆ จากใครทั้งสิ้น และถ้ามีผลงานไม่ดี เขาจะเป็นคนรับผิดชอบเองทั้งหมด

 

สื่อคือกลุ่มที่ อัลฟ์ แรมซี่ย์ งัดข้อด้วยเสมอ เพราะสื่ออังกฤษมักมีชื่อเรื่องการแสดงความคิดเห็นเชิงแทรกแซง ในฟุตบอลโลก 1966 ก็เช่นกัน ก่อนที่จะเริ่มนั้น อัลฟ์ โดนสื่อวิจารณ์ว่ามีดีแต่ลมปาก และบริหารทีมไม่เป็น เนื่องด้วยเขาพยายามเปลี่ยนทีมในแบบที่ตัวเองเชื่อ เขาเลือกเอา บ็อบบี้ มัวร์ กองหลังจาก เวสต์แฮม ที่อายุแค่ 25 ปี เป็นกัปตันทีม ตอนนั้นสื่อทั้งประเทศงงมาก เพราะไม่เคยมีกัปตันทีมอายุน้อยขนาดนี้

แต่ อัลฟ์ อธิบายแนวทางของเขาว่า เขาชอบนักเตะประเภทนักสู้มากกว่าพวกนักเตะดังแต่ควบคุมยาก เขาเลือก มัวร์ เป็นกัปตัน เพราะ มัวร์ มาจากครอบครัวชนชั้นแรงงาน ทำให้เขามีแรงผลักดันมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ที่แฟนอังกฤษเซ็งโลกสุด ๆ จากการไม่ใช้งาน จิมมี่ กรีฟส์ กองหน้าที่ดีที่สุดในลีกและในประเทศ โดยก่อนหน้าบอลโลกจะเริ่มขึ้น เขายิงให้อังกฤษถึง 21 ประตูจาก 29 เกม

ทว่าหลังจากฟุตบอลโลกเริ่มแข่ง เมื่อ กรีฟส์ เจ็บจากศึกรอบแบ่งกลุ่ม และร่างกายไม่ค่อยดี ยิงประตูก็ไม่ได้ อัลฟ์ แรมซี่ย์ ก็ไม่ใช้งานเขาอีกเลย และเปลี่ยนมาใช้นักเตะกองหน้าจอมขยันอย่าง เจฟฟ์ เฮิร์สท์ แทน ทำเอาสื่อและแฟนบอลหัวร้อน ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่เลือกนักเตะที่ดีที่สุดอย่าง กรีฟส์ เพราะ เฮิร์สท์ นั้นไม่ใช่กองหน้าที่มีชื่อเสียงอะไรเลย เขาติดทีมชาติเพียงแค่ 5 เกมและไม่เคยทำประตูได้แม้แต่ลูกเดียวก่อนที่ทัวร์นาเมนต์จะเริ่มขึ้น แต่เขากลับเป็นที่ยอมรับของกุนซือทีมชาติอังกฤษ

 

ทว่าทุกอย่างตัดสินกันในสนาม และ อัลฟ์ เดิมพันถูกในเกมรอบ 8 ทีมสุดท้ายและรอบ 4 ทีมสุดท้ายที่พบกับ อาร์เจนตินา และ โปรตุเกส ซึ่ง เฮิร์สท์ สามารถทำประตูได้ในรอบก่อนรองชนะเลิศ แถมยังกลายเป็นกุญแจที่นำทัพทรีไลออนส์คว้าแชมป์โลกสมัยแรก ด้วยการยิงแฮตทริกพาทีมชนะ เยอรมันตะวันตก ในรอบชิงชนะเลิศ ขณะที่ กรีฟส์ เองก็ไม่เคยได้รับความนิยมเท่ากับที่เคยเป็นอีกเลย

เช่นเดียวกับกับ อัลฟ์ แรมซี่ย์ จากกุนซือหัวแข็งที่ยึดมั่นในระบบการเล่นของตัวเองมากกว่าผู้เล่นดัง ก่อนหน้านี้เขาเจอความกดดันและคำวิจารณ์มากมาย สุดท้ายเขากลายเป็นฮีโร่ และได้รับการปูนยศจนกลายเป็น เซอร์ อัลฟ์ แรมซี่ย์ เลยทีเดียว

ที่ร่ายมายาวเหยียดนี้เพื่อต้องการให้ทุกคนนึกภาพความแตกต่างระหว่างอังกฤษในยุคแชมป์โลกปี 1966 กับทีมชุดระยะหลัง ๆ โดยเฉพาะหลังยุค 90s ให้ออก ทีมชุดหลังได้รับการผลักดันจากสื่อเสมอในช่วงเวลาก่อนแข่ง พวกเขาอวยสารพัดจนนักเตะรู้สึกกดดันเพราะมันมากเกินไป และเหนือสิ่งอื่นใดคือการเลือกนักเตะของกุนซือยุคหลังๆ ที่เชื่อมั่นในตัวนักเตะระดับสตาร์ มากกว่าจะยึดมั่นในระบบการเล่นแบบแผนของตัวเองที่ เซอร์ อัลฟ์ แรมซี่ย์ ทำ

และหนึ่งในกรณีศึกษาที่ดีที่สุด คือเรื่องที่เกิดขึ้นกับเหล่า 3 เสือในตำแหน่งมิดฟิลด์ของทีมหลังยุค 2000s ที่ประกอบด้วย พอล สโคลส์, สตีเว่น เจอร์ราร์ด และ แฟรงค์ แลมพาร์ด นั่นเอง … ทีมชุดนั้นประกอบด้วยนักเตะที่สื่ออังกฤษมองว่าดีที่สุดรอบหลายปี พร้อมท้าชนกับตัวแทนทุกชาติ ทว่าปลายทางกลับตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง อังกฤษ ตายน้ำตื้นมาตลอด

 

ขอบคุณข่าว : https://www.sanook.com/

สนใจสมัคร ติดต่อ : https://www.sportwebgolf.com/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *